ระเบียบและกฏหมาย
พระราชบัญญัต
เอกสารประเมินบุคคล
รายงานประจำป
คู่มือต่างๆ
แบบฟอร์มต่างๆ
Link Web ที่น่าสนใจ
กรุงเทพมหานคร
หนังสือเวียนกรุงเทพมหานคร
กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
สำนักงานประกันสังคม
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
แพทยสภา
สภาการพยาบาล
WHO Thailand
การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
กรมบัญชีกลาง
ไทยฮอตไลน์
มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย
Bangkok GIS
 
โรคข้อเข่าเสื่อม ( Osteoarthritis of the Knee)

             ข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่มักพบในผู้สูงอายุ หรือในวัยกลางคนขึ้นไป โดยเฉพาะในเพศหญิง ซึ่งปัจจัยเสี่ยงหนี่งที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้เร็วขึ้นนั่นคือ การมีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป อาการข้อเข่าเสื่อม ก็จะเริ่มต้นด้วยการมีอาการปวดข้อ หลังจากที่มีอายุมากขึ้น อาการปวดข้อก็จะมากขึ้นตามไปด้วย

              โรคข้อเข่าเสื่อม ที่กล่าวถึงกันอยู่เป็นประจำในความหมายของคนทั่วไป หมายถึง ภาวะที่ข้อเกิดความผิดปกติเนื่องจากสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงแบบถดถอย ซึ่งสัมพันธ์โดยตรงกับอายุที่มากขึ้น เรียกว่าข้อเข่าเสื่อมชนิดปฐมภูมิ ถ้าหากว่า โรคข้อเข่าเสื่อมมีสาเหตุที่ผิดปกติที่เกิดกับข้อเข่ามาก่อน เช่น การอักเสบของข้อเข่าจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น ติดเชื้อ ไขข้ออักเสบ กระดูกหัก เป็นต้น แล้วทำให้ในเวลาต่อมาผิวข้อผิดปกติ และเกิดข้อเสื่อมตามมา ข้อเสื่อมชนิดนี้เรียกว่าข้อเสื่อมทุติยภูมิ พบได้ประปรายในผู้ป่วยทุกอายุ แต่โดยรวมพบได้ไม่บ่อยเท่าข้อเสื่อมชนิดแรก

โครงสร้างของข้อเข่า

ข้อเข่าของคนเราประกอบไปด้วยกระดูก 3 ส่วนคือ

  1. กระดูกต้นขาหรือทางการแพทย์เรียกว่ากระดูก femur ซึ่งเป็นกระดูกส่วนบนของเข่า
  2. กระดูกหน้าแข็งทางการแพทย์เรียก tibia ซึ่งเป็นกระดูกส่วนล่างของข้อเข่า
  3. กระดูกลูกสะบ้าทางการแพทย์เรียก patella ซึ่งอยู่ด้านหน้าของเข่า
              ผิวของข้อเข่าจะมีกระดูกอ่อน [cartilage ] รูปครึ่งวงกลมซึ่งทำหน้าที่กระจายน้ำหนัก ในข้อเข่าจะมีน้ำหล่อลื่นภายในข้อเรียก synovial fluid ซึ่งจะเป็นน้ำหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อรอบเข้าซึ่งป้องกันการสึกของข้อ เมื่อเราเดินหรือวิ่งข้อของเราจะต้องรับน้ำหนักเพิ่ม ดังนั้นยิ่งมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นเท่าใดข้อก็จะต้องรับน้ำหนักเพิ่มมาก ขึ้น นอกจากนั้นจะมีกล้ามเนื้อและเอ็นรอบข้อทำให้ข้อแข็งแรง

กลไกการเกิดข้อเข่าเสื่อม

               เข่าของคนเราเป็นข้อที่ใหญ่และต้องทำงานมากทำให้เกิดโรคที่เข่าได้ง่ายโรคข้อเข่าเสื่อมหมายถึง การที่กระดูกอ่อนของข้อมีการเสื่อมสภาพทำให้กระดูกอ่อนไม่สามารถเป็นเบาะรองรับน้ำหนัก และมีการสูญเสียคุณสมบัติของ น้ำ หล่อเลี้ยงเข่า เมื่อมีการเคลื่อนไหวของเข่าก็จะเกิดการเสียดสีและเกิดการสึกหรอของกระดูก อ่อน ผิวของกระดูกอ่อนจะแข็งผิวไม่เรียบ เมื่อเคลื่อนไหวข้อเข่าก็จะเกิดเสียงดังในข้อเกิดอาการเจ็บปวด หาก ข้อเข่าที่เสื่อมมีการอักเสบก็จะมีการสร้างน้ำข้อเข่าเพิ่มทำให้เกิดอาการ บวม ตึงและปวดของข้อเข่า เมื่อมีการเสื่อมของข้อเข่ามากขึ้นข้อเข่าก็จะมีอาการโก่งงอทำให้เกิดอาการ ปวดเข่าทุกครั้งที่มีการเคลื่อนไหว และขนาดของข้อเข่าก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้น ในที่สุดผู้ป่วยต้องใช้เท่าช่วยเดินหรือบางคนจะเดินน้อยลงทำให้กล้ามเนื้อ ต้นขาลีบลงข้อจะติดเหมือนมีสนิมเกาะเหยียดขาได้ไม่สุด

               เมื่อเกิดเข่าเสื่อมมากขึ้นกระดูกอ่อน( cartilage )จะมีขนาดบางลง ผิวจะขรุขระ จะมีการงอกของกระดูกขึ้นมาที่เรียกว่า osteophytes เมื่อมีการอักเสบเยื่อหุ้มข้อก็จะสร้างน้ำหล่อเลี้ยงข้อเพิ่มขึ้นทำให้ข้อ เข่ามีขนาดใหญ่ เอ็นรอบข้อจะมีขนาดใหญ่ขึ้น กล้ามเนื้อจะลีบลง การเปลี่ยนแปลงของข้อจะเป็นไปอย่างช้าๆโดยที่ผู้ป่วยไม่ทราบ ในรายที่เป็นรุนแรงกระดูกอ่อนจะบางมาก ปลายกระดูกจะมาชนกัน เวลาขยับข้อจะเกิดเสียงเสียดสีในข้อ

อาการที่สำคัญ

  • อาการปวดเข่า เป็นอาการที่สำคัญเริ่มแรกจะปวดเมื่อยตึงทั้งด้านหน้าและด้านหลังของเข่า หรือบริเวณน่อง เมื่อเป็นมากขึ้นจะปวดบริเวณเข่าเมื่อมีการเคลื่อนไหว ลุกนั่งหรือเดินขึ้นบันไดไม่คล่องเหมือนเดิม
  • มีเสียงในข้อ เมื่อเคลื่อนไหวผู้ป่วยจะรู้สึกมีเสียงในข้อและปวดเข่า
  • อาการบวม ถ้าข้อมีการอักเสบก็จะเกิดข้อบวม
  • ข้อเข่าโก่งงอ อาจจะโก่งด้านนอกหรือโก่งด้านใน ทำให้ขาสั้นลงเดินลำบากและมีอาการปวดเวลาเดิน
  • ข้อเข่ายึดติด ผู้ป่วยจะไม่สามารถเหยียดหรืองอขาได้สุดเหมือนเดิมเนื่องจากมีการยึดติดภายในข้อ

ปัจจัยที่ทำให้เกิดข้อเสื่อม

  • อายุ อายุมากมีโอกาสเป็นมากเนื่องจากอายุการใช้งานมาก
  • เพศหญิงจะเป็นโรคเข่าเสื่อมมากกว่าผู้ชาย 2 เท่า
  • น้ำหนัก ยิ่งน้ำหนักตัวมากข้อเข่าจะเสื่อมเร็ว
  • การใช้ข้อเข่า ผู้ที่นั่งยองๆ นั่งขัดขัดสมาธิ หรือนั่งพับเพียบนานๆจะพบข้อเข่าเสื่อมเร็ว
  • การได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุที่ข้อเข่าไม่ว่าจะกระดูกข้อเข่าแตกหรือเอ็นฉีก จะเกิดข้อเข่าเสื่อได้
  • ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูก ผู้ที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและได้รับแคลเซียมในปริมาณที่พอเพียงจะชะลอการเสื่อมของเข่า

แนวทางการรักษา

  • การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน
  • ทำกายภาพบำบัด
  • การกินยาแก้ปวดลดการอักเสบ
  • การผ่าตัด เพื่อจัดแนวกระดูกใหม่
  • การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
             ในปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมให้หายขาดได้ จุดมุ่งหมายในการรักษาทุกวิธีก็คือ ลดอาการปวด ทำให้เคลื่อนไหวข้อได้ดีขึ้น ป้องกันหรือแก้ไขการผิดรูปร่างของข้อ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้เป็นปกติ การกินยาแก้ปวด หรือ การผ่าตัด ถือว่าเป็นการรักษาที่ปลายเหตุ ถ้าผู้ป่วยยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน และไม่บริหารข้อเข่า ผลการรักษาในอนาคตก็จะไม่ดีเท่าที่ควร

วิธีการรักษาที่ได้ผลดี และเสียค่าใช้จ่ายน้อย คือ

  • การลดน้ำหนัก
  • การออกกำลังกายข้อเข่า
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตประจำวัน

ข้อแนะนำในการดูแลรักษาด้วยตนเอง

  1. เมื่อมีอาการปวดเข่าจากข้อเสื่อม ควรใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบรอบๆเข่า นาน 15 - 30 นาที วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น
  2. ลดน้ำหนักตัว เพราะจะทำให้เข่าแบกรับน้ำหนักน้อยลง การเสื่อมของเข่าก็จะช้าลงด้วย
  3. ไม่ควรนั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่า นั่งยองๆ เพราะท่าดังกล่าวจะทำให้ข้อเข่าเสียดสีกันและเสื่อมเร็วขึ้น
  4. ควรนั่งถ่ายบนโถนั่งชักโครก หรือ ใช้เก้าอี้ที่มีรูตรงกลาง วาง ไว้เหนือคอห่าน แทนการนั่งยอง ๆ ควรทำที่จับบริเวณด้านข้างโถนั่งหรือใช้เชือกห้อยจาก เพดาน เพื่อใช้จับพยุงตัว เวลาจะลงนั่งหรือจะลุกขึ้นยืน
  5. ที่นอนบนเตียง ควรมีความสูงระดับเข่า ซึ่งเมื่อนั่งห้อยขาที่ขอบเตียงแล้วฝ่าเท้าจะแตะพื้นพอดี ไม่ควรนอนบนพื้นเพราะต้องงอเข่าเวลาจะนอนหรือ จะลุกขึ้น ทำให้ผิวข้อเสียดสีกันมากขึ้น
  6. หลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งในท่าเดียวนาน ๆ ถ้าจำเป็นควรเปลี่ยนท่าหรือขยับ เหยียด -งอ ข้อเข่าอยู่เรื่อยๆ
  7. ไม่ควรเดินบนทางเดินที่ขรุขระเพราะจะทำให้น้ำหนักตัว ลงไปที่เข่าเพิ่มมากขึ้น และอาจจะเกิดอุบัติเหตุหกล้มได้ง่าย
  8. ควรใช้ไม้เท้าช่วยพยุงตัวเวลาเดิน ซึ่งจะช่วยรับน้ำหนักตัว ทำให้เดินได้มั่นคง และเจ็บน้อยลง
  9. ออกกำลังกล้ามเนื้อเข่าเป็นประจำ เพื่อให้กล้ามเนื้อ และเอ็นรอบเข่าแข็งแรง เพิ่มความทนทานในการใช้งาน ช่วยป้องกันและลดความพิการที่อาจเกิดขึ้นกับข้อเข่า

หากท่านมีอาการต่อไปนี้มากกว่า 2 สัปดาห์ !!! ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด !!!

  • มีอาการบวมแดงและร้อนบริเวณข้อเข่า
  • มีอาการปวดมากขึ้นเรื่อยๆ ปวดตลอดเวลา กดเจ็บ
  • มีอาการปวดที่ข้อต่ออื่นๆ ร่วมด้วย
  • กล้ามเนื้อต้นขาลีบ มีอาการชาหรือขาอ่อนแรง
  • สีของผิวหนังบริเวณเท้ามีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเดินนานๆ
  • มีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ต่อมน้ำเหลืองโต เป็นต้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


Produce by Medical Service Department

สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เลขที่ 514          ถนนหลวง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100          โทร. 0-2224-2954 , 0-2224-9711 , 0-2221-6020 , 0-2225-4966          โทรสาร 0-2226-1931 , 0-2221-6029

ติดต่อ Webmaster : webmaster@msdbangkok.go.th